บทบาทของชาติต่างๆ ในการสำรวจทางทะเล

โปรตุเกส

            ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช (HENRY THE NAVIGATOR) พระอนุชาของพระเจ้าจอห์นที่ 1 (JOHN I) แห่งโปรตุเกส ได้จัดตั้งโรงเรียนราชนาวีเพื่อเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางทะเล การใช้ เครื่องมือและเทคนิคการสร้างเรือ ซึ่งส่งผลให้ชาว โปรตุเกสสามารถค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทาง ตะวันออก ได้แก่

            - บาร์โธโลมิว ไดแอส (BARTHOLOMEU DIAS) สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาผ่านแหลม กู๊ดโฮป (CAPE OF GOOD HOPE) ได้สำเร็จใน ค.ศ. 1488


            - วัสโก ดา กามา (VASCO DA GAMA) แล่นเรือตาม เส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงทวีปเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่ง ที่เมืองกาลิกัต (CALICUT) ของอินเดียได้เมื่อ ค.ศ. 1498 ต่อมา ชาวโปรตุเกสสามารถควบคุมเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งตะวันออก ของทวีปแอฟริกาและอินเดียทางชายฝั่งตะวันตก สามารถยึด เมืองกัว (GOA) ในมหาสมุทรอินเดียได้



สเปน 

            -ค.ศ. 1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (CHRISTOPHER COLUMBUS) ชาวเมืองเจนัว (ประเทศอิตาลี) ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกกลม ได้รับ การสนับสนุนจากกษัตริย์สเปนให้เดินทางข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อสำรวจเส้นทางเดินเรือ ไปประเทศจีน แต่เขาได้พบหมู่เกาะเวสต์อินดีสซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกาใต้โดยบังเอิญใน ค.ศ. 1492 ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ ในอเมริกาใต้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่เงินและทองคำ ในเวลาต่อมา



           คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นช่วงการแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสและสเปนเพื่อ หาเส้นทางไปหมู่เกาะอีสต์อินดีส (EAST INDIES) ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องเทศและพริกไทย ใน ค.ศ. 1494 สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (ALEXANDER VI) ได้ให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญา ทอร์เดซียัส (TREATY OF TORDESILLAS) กำหนดเส้นสมมติแบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิ สำรวจและยึดครองดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 51 ส่วนโปรตุเกสได้สิทธิทาง ด้านตะวันออกและนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเลของโปรตุเกสในเอเชีย  

            ในคริตส์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสได้ขยายอำนาจมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้า ยึดครองมะละกา ทำให้บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ โปรตุเกส 

              -ค.ศ. 1519 เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน (FERDINAND MAGELLAN) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส โดยความสนับสนุนจากกษัตริย์สเปน ได้เดินทางไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกผ่านช่องแคบที่ภายหลังตั้งชื่อว่าแมกเจลลันทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก มายังทวีปเอเชีย เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายเมื่อพยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เกาะฟิลิปปินส์ แต่ ลูกเรือของเขาสามารถเดินทางกลับสเปนทางมหาสมุทรอินเดียได้สำเร็จใน ค.ศ. 1522 นับเป็นเรือ ลำแรกที่แล่นรอบโลกได้สำเร็จ


            ในยุคนี้โปรตุเกสและสเปนกลายเป็นชาติที่มีอำนาจ มีความมั่งคั่ง ทำให้หลายชาติทำการ สำรวจเส้นทางเดินเรือ การแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนยุติลงเมื่อโปรตุเกส ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในช่วง ค.ศ. 1580-1640


ฮอลันดา

            เดิมฮอลันดาเคยอยู่ใต้การปกครองของสเปน และทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้า เครื่องเทศ จนกระทั่ง ค.ศ. 1581 ได้แยกตัวเป็นอิสระจากสเปน ทำให้สเปนประกาศปิดท่าเรือ ลิสบอนส่งผลให้ฮอลันดาไม่สามารถซื้อเครื่องเทศได้อีก ฮอลันดาจึงต้องหาเส้นทางทางทะเลเพื่อ ซื้อเครื่องเทศโดยตรง ในที่สุดกองทัพเรือของฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจทางทะเลใน ค.ศ. 1598 และได้จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา เพื่อ ควบคุมการค้าเครื่องเทศ

            ใน ค.ศ. 1605 เรือดุฟเกน (DUYFKEN) ของฮอลันดา ที่เป็นเรือค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่า อยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา ได้ค้นพบทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก และเรียก ทวีปนี้ว่า นิวฮอลแลนด์ (NEW HOLLAND) แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้ครอบครองและ เรียกทวีปนี้ว่า ออสเตรเลีย ซึ่งมาจาก AUSTRALIS ในภาษากรีก แปลว่า ดินแดนทางซีกโลกใต้


อังกฤษ  

            คณะนักสำรวจได้ค้นพบหมู่เกาะนิวฟาวแลนด์และโนวาสโกเทีย ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีการแข่งขันการค้าทางทะเลกับสเปนและโปรตุเกส และได้ครอบครองดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือเป็นส่วนใหญ่ มีการจัดตั้งสถานีการค้าในอินเดียและแหลมมลายู และในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 กัปตันเจมส์ คุก ได้เดินเรือไปถึงทวีปออสเตรเลียและอ้างสิทธิในการครอบครอง



เนเธอร์แลนด์ 

            ชาวดัตช์เริ่มสำรวจทางทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และก่อตั้งสถานีการค้าที่บริเวณแหลมกู๊ดโฮป หมู่เกาะชวา สุมาตรา มะละกาและเกาะลังกาในทวีปเอเชีย เกาะแมนฮัตตัน ในทวีปอเมริกาเหนือ หมู่เกาะอินดิสตะวันตกและทวีปอเมริกาใต้

ฝรั่งเศส 

            เริ่มสำรวจทวีปอเมริกาและยึดครองอาณานิคมในแคนาดา หมู่เกาะอินดีสตะวันตกและอินเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น